SCG Power House is a large generator warehouse for supplying data storage center serving three office high towers. It's required to be easily accessible with minimum distance for connecting electrical and data cables from each building. The most suitable location is a small garden among the three towers.
The nature of service buildings generally require to be a large solid block that occasionally emit noise and fumes but the location exposed to the main pedestrian traffic flow within the office complex. To make the most out of its unique location, architect resolves by proposing to use the warehouse as a showcase of SCG building products.
Three surrounding towers symbolize the past success of SCG. First two towers, erected in 1982, third tower built to celebrate the company's centenary. There are also small cafe and a car park building within the complex. The original building expresses a conventional office tower of alternating layers of solid and glass up building height. By adopting the language, each side of each rectangular floor plate is playfully manipulated. Moves include twisting corners, pushing and pulling the facade, and scaling up and down. A small corner becomes a landscape planter to create a refreshing ambience to the machine room while another wall is scaled up large enough to locate a LED screen facade for the adjacent coffee shop. In some areas, the lengthy building facade is pulled outward and used as an exterior passage way while another side that is a four meter cantilevered volume acts as a canopy for the pedestrians below. A sloping layer functions as a stair that becomes a seating area.
Materials innovation by SCG is applied on each layering volume, creating an ever changing building form that changes the perception of a typical monotonous generator warehouse into one of SCG's showcases.
SCG Power House Center เป็นอาคารพลังงานสำหรับสำรองไฟฟ้าสำหรับศูนย์เก็บข้อมูล (Data Center) ของอาคารสำนักงานใหญ่หลักของบริษัทถึง 3 อาคาร จึงจำเป็นต้องตั้งอาคารอยู่บนพื้นที่ที่สามารถโยงสายไฟฟ้า และสายข้อมูลต่างๆได้ใกล้ทุกอาคารที่สุด
ที่ตั้งอาคารจึงถูกกำหนดให้ตั้งลงแทนที่สวนหย่อมขนาดเล็กที่อยู่ชิดกับกลุ่มอาคารเดิม และมีขนาดที่ดินเพียง 23 x 7.5 เมตรเท่านั้น ซึ่งที่ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานสำรองไฟที่สุด กลับกลายเป็นที่ที่ผู้คนไม่ต้องการให้อยู่ใกล้ที่สุด เนื่องจากประเภทของอาคารห้องเครื่องนั้น จะเป็นอาคารที่ใหญ่ ทึบตัน ใหญ่ ตัวอาคารมีมีเสียงดังและมีการปล่อยควันเสียเป็นบางคราว ทั้งที่อาคารต้องอยู่ท่ามกลางการสัญจรของคนทั้งองค์กร ที่ต้องเดินผ่านไปผ่านมาตลอดเวลา
เพราะอาคารอยู่ใจกลางของสำนักงานใหญ่ 3 อาคาร การออกแบบอาคารทึบตันและมีมลพิษต่างๆ ที่ใกล้ๆกับผู้คนสัญจรไปมา ให้กลายเป็นอาคารที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม จึงเป็นเรื่องที่สถาปนิกให้ความสำคัญที่สุด
สถาปนิกออกแบบอาคารโดยเสนอให้อาคารห้องเครื่องนั้น มี “หน้าที่” มากกว่าอาคารห้องเครื่อง ให้แปลงสภาพกลายเป็น Showcase วัสดุก่อสร้างใหม่ๆ ของธุรกิจวัสดุสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก ของ SCG
--
ที่ตั้งที่คับแคบ ท่ามกลางเหล่าอาคารอนุรักษ์ขององค์กรที่มีอายุกว่า 100 ปี
นอกจากอาคารตั้งอยู่บนพื้นที่ในการสัญจรหลักขององค์กรแล้ว กลุ่มอาคาร เหล่านั้นยังเป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นเป็นสัญลักษณ์ แห่งความก้าวหน้าในอดีตของธุรกิจซิเมนต์ของประเทศไทยในยุคสมัยต่างๆ
(1-2) อาคารสูงอาคารแรก ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 จำนวน 2 อาคาร รวมเป็นอายุอาคารกว่า 30 ปี และยังโอบล้อมด้วย (3) อาคารสำนักงานใหญ่ ใหม่ล่าสุด ที่ SCG ตั้งใจสร้างขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองอายุองค์กรที่ก่อตั้งมาครบ 100 ปี และติดกับที่ตั้งนั้น ยังมี (4) อาคารอนุรักษ์อายุกว่า 60 ปี (อาคาร 10 สีเหลือง) ที่ SCG ได้เก็บอนุรักษ์ไว้คง สภาพเดิม (5) อาคารร้านกาแฟเล็กๆ และ (6) อาคารจอดรถล้อมรอบ
สถาปนิกจึงพยายามออกแบบโดยคำนึงถึงความ สอดคล้องของกลุ่มอาคารเดิม นั้นให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้อาคารห้องเครื่องสำคัญไปกว่าประวัติศาสตร์ สถาปนิกนำภาษาของอาคารเดิมทั้งหมด (Building 1,2,3) ที่มีการออกแบบแบบ Conventional, มีการแสดงลักษณะของพื้น และ ผนังกระจกอาคาร ขนาดสัดส่วน เท่าๆกันหมดทั้งอาคาร วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ คล้ายๆขนมชั้น เรียงทับกันจนไป ถึงยอด Tower นำมาถอดความใหม่ลงบนที่ตั้งขนาดเล็ก พัฒนาภาษาอาคารใหม่ โดยใช้หลักการจากการใช้สอยหรือประโยชน์ต่างๆของบริเวณนั้นๆ จริง โดย สถาปนิกเล่นกับชั้นสี่เหลี่ยมเดียวกันซึ่งเป็นรูปทรงพื้นฐานที่เหมาะสมต่อการจัด วางเครื่องยนต์ต่างๆภายใน แล้วพัฒนารูปทรงโดยการ บิดองศา ยื่น-ยุบ ย่อ-ขยาย อาทิเช่น บิดองศาส่วนต่างๆ เพื่อให้หัดเปลือกอาคารไปกระทบที่- หมายตาของผู้คนที่มาจากแต่ละมุมอาคาร, ย่อบางส่วน เพื่อให้เปลือกอาคาร กลายเป็นกระถางต้นไม้ สร้างความรู้สึกสดชื่นให้แก่บริเวณรอบๆอาคารห้อง- เครื่อง, ขยายบางส่วน เพื่อให้กว้างพอให้ติด- ตั้งจอ LED ให้กับร้านกาแฟข้างๆ, ยื่นออกตามด้านยาว และขยายให้สูงพอดีราว กันตกชั้นสอง เพื่อให้เป็นระเบียงเข้าพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร, ยื่นยาว 4 เมตร ตามด้านสั้น เพื่อให้เป็นชายคากันแดดกันฝนของผู้สัญจรไปมา, ยกระดับขึ้นมา ให้กลายเป็นบันได หรือ ยกสูงขึ้นอีก จนถึงระดับความสูงของม้านั่งสนามให้แก่ ร้านกาแฟข้าง ๆ และสุดท้าย ติดตั้งวัสดุก่อสร้างที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆของทาง SCG ไว้บน Layer ต่างๆ แบบเว้นที่ว่างอากาศให้ห่างจากอาคาร ทำหน้าที่ลดเสียงดังที่รบกวน คนสัญจร และยังให้เกิดการหมุนเวียนของรูปลักษณ์อาคาร และได้เปลี่ยนลักษณะหน้าที่เดิมจากอาคาร “ห้องเครื่อง” ให้กลายเป็น Showcase ของ SCG ที่สวยงาม ดูสบายตา เป็นมิตรกับผู้คนโดยรอบไปแทน
(เดิมที ก่อนจะมีอาคาร Power House พื้นที่บริเวณนี้ ถือเป็นพื้นที่ที่เป็น “หัวใจ” ของ SCG ทั้งหมด เนื่องจากเป็นศูนย์รวมความหนาแน่นของกลุ่มอาคารสูง
ถึง 3 อาคาร มีพนักงานจำนวนมากที่ต้องสัญจรเชื่อมตึกไปมาเพื่อติดต่อหน่วยงานต่างๆ อย่างพลุกพล่าน โดยเฉพาะเวลากลางวัน ทางสัญจรนั้นๆ ยังตัดกับถนนสำหรับรถวิ่ง กับที่จอดรถด้วย พนักงานส่วนใหญ่ จะเดินเชื่อมหลากหลาย โดยทั้งตัดผ่านถนน เดินอ้อมทางเท้า หรือ เดินผ่านโรงจอดรถ
อาคาร Power House ต้องการจะแก้ปัญหาให้ผู้คนมาเดินที่ทางเท้า เพื่อลดความอันตรายของการเดินตัดผ่านถนนหลัก จึงหวังจะสร้างจุดหมายใหม่ให้ผู้คน เดินเข้ามาใกล้ตัวอาคาร (ทั้งที่ปกติแล้ว ธรรมชาติของมนุษย์จะเดินห่างจากห้องเครื่องเนื่องจากดูทึบตัน น่ากลัว เสียงดังและปล่อยควันเป็นบางครั้ง) โดยการออกแบบชายคาให้เป็นที่หมายตา ขนาดใหญ่ เห็นร่มเงาแต่ไกล บิดชั้นอาคารในองศาที่ต่างกัน ให้อาคารกระทบสายตาผู้คนจากหลากหลายทิศทาง ออกแบบให้ชายคาครอบคลุมจนเกิดพื้นที่ขนาดกระชับที่น่าสบายให้ดูร่มเย็นเชื่อมต่อกับร้านกาแฟ และออกแบบวัสดุให้อาคารดูเป็นกันเอง)